Introduction

โคราชขยะเหลือศูนย์ หรือ Korat Zero Waste ดำเนินการภายใต้ภาคีเครือข่ายทั้งสถาบันอุดมศึกษา ภาครับ และภาคเอกชน มีการจุดประกายแนวคิดจากนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดนครราชสีมา นายนราทร ธานินพิทักษ์ ในรูปแบบของสถาบันเครือข่ายเมืองอัจฉริยะจังหวัดนครราชสีมา โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย เป็นประธาน และนางขนิษฐา วรรณภักดี เลขานุการฯ ในการขับเคลื่อน ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนมีถึงปี พ.ศ.2562 จากการเข้ามาสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยนายธวัชชัย โคตรวงษ์ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ภาคอีสาน

จนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการในชื่อ

มีที่ปรึกษาโครงการ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล เยื้องกลาง และสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ช่วยให้คำแนะนำและส่งเสริมในการขับเคลื่อน

“การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์”

โครงการนี้ มี ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ เป็นผู้จัดการและบริหารโครงการย่อยภายใต้กรอบแนวคิดของโครงการฯ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 โครงการย่อย ได้แก่

  1. กลไกระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หัวหน้าโครงการ คือ ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ
  2. โครงการระบบขยะเหลือศูนย์สู่ความเป็นเมืองโคราชอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาการจัดการขยะหมู่บ้านจัดสรรในเมืองโคราช หัวหน้าโครงการ คือ ดร.ฉัตร  พยุงวิวัฒนกูล และ
  3. การจัดทําแผนพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม และประเมินผลการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในเมืองโคราช หัวหน้าโครงการ คือ ดร.ศิริพันธ์  ติยะวงศ์สุวรรณ

โครงการมีวัตถุประสงค์ ได้แก่

  1. เพื่อรวบรวมและจัดระบบการจัดการข้อมูลเมืองในด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะของชุมชนเมืองนครราชสีมา (Urban Informatics / Urban Open Data)
  2. เพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะชุมชนเพื่อเป็นต้นแบบชุมชนเมืองโคราชขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste)
  3. เพื่อประเมินผลของข้อมูลวิจัยและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะเมือง (Participatory Urban Planning, Program, and Project Design to Job Creation)

แนวทางการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ

  1. กรอบแนวคิดใหญ่ของโครงการวิจัยนี้ ประเด็น Urban Open Data หรือ Urban Informatics Systems (UIS) คณะผู้วิจัย ได้มีการดำเนินการประชุมกลุ่มย่อยกับหน่วยงานต่าง ๆ เชิงพื้นที่เมืองโคราชมาต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่าสองปี ทั้งสำนักงานจังหวัดนครราชสีมา ขับเคลื่อนจนเกิดยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะจังหวัดนครราชสีมา 
  2. สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดนครราชสีมา เกิดการร่วมทุนส่งเสริมให้เกิดการแก้ปัญหา (Urban Solution) และโอกาสการเกิดงานใหม่ขึ้นจากการแก้ปัญหา (Job Creation) ร่วมระหว่างชุมชนหมู่บ้านจัดสรรกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเมืองโคราช ประเด็นสามารถเป็นต้นแบบระบบนิเวศองค์กรในการแก้ไขปัญหาเมืองที่เกิิดขึ้นจากความพยายามร่วมมือและการลงทุน ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดนี้กับการแก้ปัญหาอื่น ๆ ของเมืองได้เช่นกัน 
  3. Platform ที่เกิดขึ้นของโครงการ สามารถนำไปสู่การขยายผลการแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ของเมืองได้ ซึ่งเกิดขึ้นความสำเร็จต้นแบบ (Best Practice) ภายในเมือง ผ่านกลไกตัวกลางเชื่อมโยงระบบข้อมูลการตัดสินใจร่วมกัน ด้วยระบบ Urban Informatics Systems ที่มหาวิทยาลัยฯ รับบทบาทเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงประสานหน่วยงานภายในเมืองทำงานและตัดสินใจร่วมกันอย่างเป็นองค์รวม 
  4. Platform ดังกล่าวน่าจะสามารถนำไปสู่ฐานข้อมูลเมืองขนาดใหญ่ด้านต่าง ๆ ผ่านการร่วมมือระหว่างหน่วยงานเป็นรายประเด็นและกรณีศึกษา ผ่านศูนย์กลางระบบข้อมูล กับ Mobile Application แต่ละประเด็น ซึ่งจะสามารถรวบรวมข้อมูลและประมวลผลแบบ Real-time ได้จากระบบ 5) จำนวนและปริมาณข้อมูลด้านต่าง ๆ และองค์กรที่เกี่ยวข้องจะนำไปสู่ One Map / One Data ของเมิืองโคราชที่มีระบบ Real-time และสามารถเป็นต้นแบบประยุกต์ใช้กับเมืองอื่น ๆ ได้ต่อไป